สาขาวิชาแฟชั่น

สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

Fashion and Textile Program

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพแฟชั่นและสิ่งทอ ตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • วิเคราะห์แบบเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อการสร้างแบบตัดเย็บและตกแต่ง
  • เลือกใช้วัสดุสิ่งทอ ใช้และบำรุงรักษาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
  • ปฏิบัติงานพื้นฐาน การออกแบบ ตัดเย็บและตกแต่งเสื้อผ้าบุรุษ สตรี เด็กและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
  • คิดคำนวณต้นทุนการผลิตและควบคุมคุณภาพเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้ช่วยช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ผู้ช่วยช่างออกแบบเสื้อผ้า รับราชการ บริษัท – ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย/พนักขาย (เกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย) พนักงานโรงแรม เช่น ห้องซักรีด ฝ่ายซ่อมแซมงานผ้า ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น เปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า – ออกแบบเสื้อผ้า และอื่นๆ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

ครูผู้สอน

Teachers

นางสาวเยาวมาลย์  สมประสงค์

หัวหน้าสาขาวิชาแฟชั่น
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นายอาคม มหาดไทย

ครูสาขาวิชาแฟชั่น
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นายนพดล  จะเฮิง

ครูสาขาวิชาแฟชั่น
ครูพิเศษสอน

[email protected]
08 8888 8888

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย