สาขาวิชาการท่องเที่ยว

สาขาวิชาการท่องเที่ยว

Tourism Program

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพการท่องเที่ยวตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • ใช้หลักการและกระบวนการของการเป็นผู้ให้บริการในการปฏิบัติงานการท่องเที่ยว
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทยในการปฏิบัติงานการท่องเที่ยว
  • ปฏิบัติงานให้การบริ การการท่องเที่ยวภายใต้ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของการท่องเที่ยว
  • จัดทำและเสนอขายรายการนำเที่ยวได้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของตลาดและกลุ่มนักท่องเที่ยว
  • เตรียมอุปกรณ์และให้บริการนำเที่ยวนักท่องเที่ยวตามรายการนำเที่ยว
  • ปฏิบัติงานสำนักงานบริษัทนำเที่ยวได้ตามขั้นตอนและวิธีการ
  • ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวได้ตามมาตรฐานการบริการทางการท่องเที่ยว
  • สื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศในงานบริการการท่องเที่ยว
  • พัฒนางานบริการการท่องเที่ยวให้ทันต่อความกาวหน้าทางวิชาชีพและเทคโนโลยี

แนวทางการประกอบอาชีพ

พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ในธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยว ธุรกิจการจำหน่ายบัตรโดยสาร ธุรกิจโรงแรม สำนักงานการท่องเที่ยวในภาครัฐ และเอกชน ปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยมัคคุเทศก์ในธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ท้องถิ่น พนักงานบริการในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐ และเอกชน

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) ระบบปกติ และระบบทวิภาคี

รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานอาชีพตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้ / เลือกใช้ / ปรับใช้ กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
  • เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานการท่องเที่ยว
  • บริหารจัดการ ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพการท่องเที่ยวด้วยตนเอง
  • ปฏิบัติงานสำนักงานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เป็นไปตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ฉบับปัจจุบัน

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้นำเที่ยวทั่วไปทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ผู้นำเที่ยวท้องถิ่น (มีความสามารถบรรยายความรู้เฉพาะทาง) เจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวขององค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานราชการ เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่บริษัทนำเที่ยว ฯลฯ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 8,000 – 15,000 บาท
  • ภาคเอกชน 9,000 – 18,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)

ครูผู้สอน

Teachers

นางสาววนิดา  มานะ

หัวหน้าสาขาวิชาการท่องเที่ยว
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นางศิริเนตร  สิงห์ช่างชัย

ครูสาขาวิชาการท่องเที่ยว
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นางสาวสาวิตรี  ฤทธา

ครูสาขาวิชาการท่องเที่ยว
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นางสาวนิชาภา ปรารมภ์

ครูสาขาวิชาการท่องเที่ยว
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย